Welcom To Sukhirin " เมืองในหมอก...ดอกไม้งาม...ต้นน้ำสายบุรี...ประเพณีหลากหลาย...นวนิยายเพชรพระอุมา...ล้ำค่าเหมืองทองคำ...ตำหนักสุคิริน

คาวบอย สุคิริน


              คนส่วนใหญ่รู้จักคำว่า " คาวบอย ( Cowboy) " จากหนังฮอลลีวูดที่เผยแพร่ไปทั่วโลก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1930 และโด่งดังเป็นที่นิยมกันมาก คนทั่วไปจึงรู้จักคาวบอยในรูปลัษณ์ของคาวบอย คาวเกิร์ล ซึ่งคาวบอยในทัศนะคติ คือ เป็นสุภาพบุรุษ ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์ มีคุณธรรมประจำใจ ปกป้องช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า มีความอุตสาหะ วิริยะ ดำรงชีวิตโดยการพึ่งตนเอง โดยหยาดเหงื่อแรงงานที่สุจริต หนักเอาเบาสู้ รวมทั้งยังยึดมั่นในคุณธรรมน้ำมิตร ที่น่ายกย่อง เป็นแบบอย่างที่น่าประทับใจจนเล่าขานต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน





                 อำเภอสุคิรินเป็นอำเภอที่มีภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาสวยงามเหมาะสมกับการแต่งกายด้วยชุดคาวบอย คาวเกิร์ล รวมทั้งการดำรงชีวิตของชาวไร่ปศุสัตว์ในยุคคาวบอย ถ้าพิจารณาตามกระแสความนิยมร่วมสมัยของคนยุคนี้ คาวบอยจึงเป็นการดำรงชีวิตระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งเป็นวิถีที่สมถะเรียบง่าย พึ่งตนเอง ปัจจุบันยังพบเห็นได้ที่ สุคิริน ซึ่งคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ด้านปศุสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ ฯลฯ



       ผลที่คาดว่าจะได้รับ

              1.   สร้างเมืองสุคิรินให้มีเอกลักษณ์ ภาพลักษณ์ที่โดดเด่น เพื่อรองรับการเป็นเมืองท่องเที่ยวในอนาคต

              2.   สร้างสีสัน ความรัก ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนักอันเดียวกันของคนสุคิริน

              3.   เสริมสร้างให้ผู้คนมีวิธีชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัด สมถะ และพึ่งตนเองได้

              4.   ดึงดูดความน่าสนใจแก่นักท่องเที่ยวที่ชอบธรรมชาติที่บริสุทธิ์และสวยงามให้มาเยื่อมเยือน อำเภอสุคิริน

..............................................................


ประวัติคาวบอย




    ต้นกำเนิดคาวบอย 


              ความมีชื่อเสียงของคาวบอยที่รู้จักกันดี ที่จริงแล้วการก่อกำเนิดพูดได้เต็มปากว่า  ควรเป็นหนี้บุญคุณคนเม็กซิโกที่อยู่ติดกันทางตอนใต้ลงไป  เพราะคนอเมริกันเอาอย่างมาจากแหล่งเดิมของคนเม็กซิกันที่ได้รับความรู้ถ่าย ทอดมาจากคนสเปนอีกทีหนึ่ง  คาวบอยอเมริกันเอาแบบอย่างมาแทบจะทุกอย่างตั้งแต่การทำมาหากินด้วยการปศุ สัตว์  วิธีการทำงาน  การเรียกชื่อเครื่องมือ เครื่องใช้ การแต่งตัว มีแต่ความลือลั่นของทั้งด้านดี และไม่ดีที่เคียงคู่กันมากับความเติบใหญ่ของอเมริกันเท่านั่นที่พวกเหล่า คาวบอยสร้างขึ้นมาเอง 
              อานม้า เครื่องม้าทั้งหลาย บ่วงบาศ สเปอร์ และเครื่องใช้พิเศษจำเพาะ ก็ไม่ได้คิดออกแบบทำเอง ล้วนแต่รับมาจากคนเม็กซิกันที่ใช้อยู่ทางตอนล่างของแม่น้ำรีโอกรังด์หลาย ชั่วคนมาแล้ว รวมไปถึงการขี่ม้าไล่ต้อนวัว การขว้างบ่วงบาศ จับม้าจับวัวมาตีตราเป็นของ “นำเข้า” มาจากเม็กซิโกทั้งสิ้น เป็นที่แน่ชัดตามประวัติศาสตร์ว่า ชาวทวีปอเมริกาดั้งเดิมเพิ่งจะพบเป็นและได้รู้จักม้าเป็นครั้งแรก ถ้าเมื่อชาวสเปนเอาเข้ามาขี่ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาหรือดินฟ้าอากาศในยุค น้ำแข็ง ว่ากันว่าทำให้ม้าพื้นเมืองยุคก่อนประวัติศาสตร์สูญพันธุ์  มีม้าและวัวเพียงไม่กี่ตัวที่มาจากยุโรป 
             ต่อมาก็ออกลูกหลานกระจายพันธุ์ออกไป  กระจายอยู่ทั่วไปตามทุ่งหญ้ากว้าง  เฉพาะม้าศึกและม้าใช้งานที่ทหารสเปนเข้ามาหนแรกเพียง  15  ตัว  เอกสารบางชิ้นว่า  16  ตัว  และวัวพันธุ์อันดาลูเชี่ยนเขายาวไม่กี่ตัว  มันแพร่พันธุ์เป็นล้านๆ ในช่วงเกือบ  300  ปีต่อมา
             เพื่อความเข้าใจถึงความเป็นมาและการแพร่หลายของสัตว์พวกนี้  ต้องย้อนไปเมื่อปี ค.ศ.1591  คนสเปนแห่ไปตั้งรกรากที่นั้นที่ถือว่าเป็นโลกใหม่  บ้างก็อพยพย้ายถิ่นขึ้นเหนือสู่ดินแดนอเมริกา  โดยต้อนฝูงปศุสัตว์ไปด้วย  จนเวลาผ่านไปราว 300 ปี หลังจากคนพวกนี้ย้ายข้ามถิ่นแม่น้ำรีโอกรังด์ขึ้นเหนือมาตั้งรกรากในภาค ตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาอันเป็นเท็กซัสทุกวันนี้
              ยุคนั้นสัตว์เลี้ยวพวกนี้ไม่ค่อยมีค่า  เพราะไม่รู้จะเอาไปขายให้ใครที่ไหน  เนื่องจากไม่มีตลาด  นานๆ อาจจะมีคนมาเลือกซื้อไว้ใช้งานตัวหรือสองตัว  วัวก็เอาไปทำอาหารบ้าง  ในขณะที่ทั้งม้าและวัวแพร่ลูกหลานออกมามากมายก็เลยกระจัดกระจายในทุ่งโล่ง  เนื่องจากแตกฝูงออกไปก็เลยถูกเรียกว่าเป็นม้าป่า, วัวป่า  แต่แท้จริงแล้วมันก็คือ  ม้าเลี้ยง, วัวเลี้ยง  นั่นเอง
ม้าป่าพวกนี้แหละที่ชาวอินเดียนแดงจับมาปราบพยศใช้งานและเรียกม้าพวกนี้ว่า “อินเดียนโพนี่” หรือม้าแกลบพวกเจ้าของฝูงสัตว์ในยุคต้นๆ ได้สร้างธรรมเนียมไว้ คือ  การเฉือนหนังม้าและวัว  หรือเอาเหล็กเผาไฟจี้เป็นเครื่องหมายแสดงความเป็นเจ้าของ
                ตอนนั้นในช่วงที่มีความเป็นมาดังกล่าว “ตะวันตกก็ยังไม่เกิด และในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของเท็กซัส  ส่วนมากเป็นเม็กซิกัน จนกระทั่งถึงยุค “มุ่งตะวันตก”  ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1821 นับแต่นั้นนักบุกเบิกเริ่มทยอยเข้ามายังเท็กซัสมากขึ้น  ส่วนใหญ่มาจากทางตะวันออกถิ่นที่ไม่ค่อยมีแม่น้ำลำธารมีทั้งคนเชื้อสายสก็อต และอังกฤษ  เชื้อชาติอื่นๆ และคนอเมริกันในเขตที่ยังเป็นอาณานิคมอังกฤษ
                 พอไปเจอทำเลทำไร่ปศุสัตว์ก็จับจองตั้งรกราก และได้เรียนรู้วิชาต่างๆ จากคนเจ้าถิ่นไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงปศุสัตว์  การปราบม้าพยศฝึกขับรถม้า และอื่นๆ  และปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้คนเหล่านี้มากมายตั้งหลักได้คือ  เหล็กตีตราวัวและม้า  เพราะเจอม้าเจอวัวที่ไม่มีตราก็จับมาตีตราเป็นของตัวเองจนทำให้มีวัวมีม้ามากมายในปศุสัตว์ของตนเอง  แต่เมื่อมีมากก็ย่อมมีภาระมาก และจะขายตลาดก็ไกลในที่สุดก็ปล่อยเลยตามเลยด้วยความท้อแท้เป็นอย่างนี้อยู่ หลายปี   จนกระทั่งยุคตลาดซื้อขายวัวเฟื่องฟู


      แดนปศุสัตว์


               ราวปี 1848 มีชาวอเมริกันกลุ่มใหญ่พากันมุ่งไปแสวงโชคทางตะวันตก ผ่านอิลลินอยส์หุบเขาไอโอว่า บ้างก็ไปถึงโอไฮโอ เลยแนวแม่น้ำมิสซิสซิปปีไปเล็กน้อย เลยจากนั้นไปมีแต่พวกดักสัตว์ อินเดียนแดง พ่อค้าเร่หากินอยู่กับคนแถบนั้น และฝูงม้าป่าที่ร่อนเร่หากินเป็นฝูงขึ้นไปจากเท็กซัสซึ่งเป็นที่ถูกใจพวก อินเดียนแดงที่ชำนาญเรื่องม้า ปลายปีนั้นมีข่าวแพร่มาจากฝั่งแปซิฟิกตะวันออกว่ามีผู้พบแร่ทองคำที่ ซัตเตอร์มิลล์ทำให้พวกนักแสวงโชคแห่กันไปสู่แคลิฟอร์เนีย คนที่พากันบุกเบิกตั้งรกรากแถบตะวันตกรุ่นแรกๆเหล่านี้เมื่อไปเจอฝูงม้าป่า เข้าตำนานคาวบอยในแดนปศุสัตว์ตอนเหนือจึงเกิดขึ้น คนพวกนี้เก่งเรื่องม้าอยู่แล้ว  พอมาเจอฝูงม้าป่าก็คิดจับมาเลี้ยงฝึกให้เชื่องไว้ใช้งานหรือขาย  แล้วไร่ปศุสัตว์ทางตอนเหนือก็เริ่มเกิดค่อยๆ ขยายจนใหญ่โต
                 การทำไร่ปศุสัตว์แถบเหนือก็ไม่แตกต่างจากแถวตะวันออกเฉียงใต้ของเท็กซัส นัก  เนื่องจากคนรู้งานทางใต้ที่ร่อนเร่ขึ้นไปถ่ายทอดวิชาให้  วันเวลาล่วงไป  ชาวไร่ตอนเหนือและนักบุกเบิกรุ่นหลังๆ ค่อยๆ เคลื่อนย้ายไปทางตะวันตกอย่างช้าๆ ที่ช้าเพราะต้องหลีกเลี่ยง-ผลักดันอินเดียนแดง  และไม่ให้ไกลจากตลาดข้างหลังมากนัก  จนกระทั่งราวปี 1860  ก็มิได้เคลื่อนย้ายคืบหน้าไปอีก
                 ในเนบราสกา  ซึ่งมีไร่ปศุสัตว์กระจายอยู่ก่อนก็ค่อยๆ ขยายไปทางตะวันตกเช่นกัน  ตามเส้นทางที่เรียกว่า “โอเวอร์แลนด์เทรล” อยู่ห่างจากแม้น้ำมิสซิสซิปปี้ไปทางตะวันตกราว 150 ไมล์ ลึกเข้าไปทางตะวันตกจากไร่ปศุสัตว์เหล่านี้ไปตามเส้นทางโอเวอร์แลนด์เทรล  ยังมีไร่ปศุสัตว์ของนักบุกเบิกใจกล้าอยู่บ้าง  พวกนี้เป็นพวกไม่กลัวอินเดียนแดง  เลี้ยงวัวขายเนื้อให้แก่คนโดยสารรถม้าที่ผ่านไป-มา  ข่าวคราวใดๆ ที่คนเหล่านี้รับรู้จากคนภายนอกต้องอาศัยจากแผ่นป้ายแจ้งข่าวที่นายไปรษณีย์ ตามสถานีรถม้าต่างๆ รายทาง  เช่น  จุลส์เบิร์ก, เด็นเวอร์, ไชแอน, เวอร์จิเนีย  ติดบอกไว้เป็นครั้งคราว  เช่น  “วันนี้ไม่มีถุงเมลล์จากตะวันออก”  นั่นแสดงว่ารถส่งข่าวถูกโจมตีจากเหล่าอินเดียนแดง  และถ้ามีใครผ่านจุดตรงที่ถูกโจมตีก็จะมีการเขียนชื่อคนตาย  วันเดือนปีที่เกิดเหตุ และระบุว่าถูกอินเดียนแดงฆ่า เป็นบรรทัดสุดท้าย
                  บางไร่โชคดีที่อยู่ใกล้สถานีรถม้า ข่าวคราวจากโลกภายนอกรับฟังได้ง่ายจากผู้คนที่มุ่งหน้าไปตะวันตก  สถานีรถม้าโดยสารในยุคนั่นตั้งอยู่ห่างกัน 10-15 ไมล์  ทุกสถานีจะเตรียมม้าสำรองไว้ให้รถทุกคันที่แวะจอด  สายดังสายหนึ่งคือ “โพนีเอ็กซเพรส” แล่นจากเมืองเซนต์โจในมิสซูรี่ไปยังเมือง ซิคราเมนโต ในแคลิฟอร์เนีย
                 ตามเส้นทางโอเวอร์แลนด์เทรลนี่เองที่ชาวปศุสัตว์ทางตอนเหนืออพยพคืบหน้าสู่ บริเวณที่เรียกว่า “แดนปศุสัตว์” ตกถึงปี 1860  มีมากมายที่หยุดตั้งรกรากอยู่แถบริมทางมาถึงช่วงนี้เข้ายุคเริ่มการก่อสร้าง ทางรถไฟ  แม้จะมีอุปสรรคสงครามกลางเมืองทางรถไฟก็รุดหน้าเริ่มต้นไปเรื่อยๆ สู่แคนซัสและข้ามความกว้างของเนบราสกาไปถึงไวโอมิ่งในปี 1867 อีกสองปีต่อมาก็ทอดความยาวเชื่อมความกว้างของประเทศได้ตลอด  การรังควานจากอินเดียนแดงแทบไม่มีเพราะถูกรัฐบาลปราบต้อนไปอยู่ในนิคม  แม้จะมีบ้างก็น้อยและบางจุดและหมดไปในปี 1867 เมื่อหมดปัญหาอินเดียนแดงชาวไร่ปศุสัตว์ลืมตาอ้าปากได้   เนื่องจากการต้อนฝูงสัตว์ไปขายก็สะดวกขึ้นและยังมีรถไฟอำนวยความสะดวกเมื่อ ต้องไปขายไกลๆ อีกด้วย  การต้อนฝูงวัวขึ้นเหนือจากเท็กซัสนี้เริ่มตั้งแต่ปี 1866
      หญ้าฟรีน้ำฟรี
             ที่ดินส่วนหนึ่งในรัฐเท็กซัสทางรัฐได้สงวนไว้ให้เป็นที่ตั้งหน่วยทหาร  นอกนั้นอีกส่วนหนึ่งทั้งในเท็กซัสและรัฐอื่นๆ ได้รับอนุมัติจากรัฐนั้นๆ และรัฐบาลกลางให้ใช้ประโยชน์เพื่อการรถไป และยังมีอีกส่วนที่กั้นไว้ให้เป็นที่สงวนสำหรับอินเดียนแดง
                ผืนแผ่นดินกว้างใหญ่อุดมด้วยทุ่งหญ้าทั้งในเท็กซัสและเลยพรมแดนออกไปในรัฐ อื่นๆ แม้เป็นที่สาธารณะก็ไม่ตัดสิทธิ์คนที่จะเข้าไปถือครองเป็นเจ้าของโดยเป็น เรื่องของรัฐที่จะพิจารณา  นอกนั้นเป็นเรื่องของรัฐบาลกลาง  ส่วนที่เหลือจากการจับจองให้ถือเป็นที่ “ว่าง” ของรัฐให้เป็นที่ดิน “เปิด”  เป็นที่ “สาธารณะ” ใครๆย่อมใช้ประโยชน์ได้ “หญ้าฟรี  น้ำฟรี” หรือเรียกว่า “ทุ่งหญ้าเปิด” ใครๆ ที่จะทำไร่เลี้ยงปศุสัตว์ในแถบถิ่นตะวันตกต้องพิถีพิถันในการเลือกทำเล คือ ต้องมีสิ่งกำบังภัยธรรมชาติ และมีแหล่งน้ำหญ้าที่อุดมสมบูรณ์
               เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “ทุ่งหญ้าเปิด” และ “หญ้าฟรีน้ำฟรี” จึงมีข้อห้ามผู้ใดทำรั้วปิดกั้น  ยกเว้นเขตที่ดินของผู้มีกรรมสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย  แต่ภายหลังเมื่อถึงยุคที่มีผู้คนอพยพย้ายถิ่นนักบุกเบิกอีกรุ่นได้รับการส่ง เสริมจากรัฐบาลให้สิทธิ์จับจองที่ดิน  กฎหมายห้ามและธรรมเนียมที่ว่าด้วยการล้อมรั้วไม่มีแล้ว และกลับส่งเสริมด้วยซ้ำ  เลยกลายเป็นศึก “รั้วลวดหนาม” ย่อยๆถึงเลือดถึงเนื้อกันพักหนึ่ง

      ศึกทุ่งปศุสัตว์


          เนื่องจากผู้คนย้ายถิ่นอพยพไปหาที่ลงรกรากทางตะวันตกมากขึ้นรัฐบาลจึงได้ เปิดทุ่งกว้างทั่วไปจัดสรรให้คนเหล่านี้จับจองทำมาหาเลี้ยงชีพ  ทำให้คนพวกนี้มีที่ดินเป็นของตัวเองมีการล้อมรั่วที่ใครที่มัน แต่ไหนแต่ไรมาทุ่งกว้างเป็นทุ่งเปิด ใครจะต้อนฝูงไปทางไหนก็สะดวกไม่มีอะไรกีดขวาง  แต่ตอนนี้ไม่สะดวกแล้วแหล่งน้ำแหล่งหญ้าต้องอ้อมไปไกล  เพราะถูกกั้นด้วยรั้วลวดหนาม  ความไม่พอใจขัดใจคุกกรุ่นขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นความโกรธและเริ่มมีการต่อต้าน  ตัด-พังรั้วลวดหนาม  จนเกิดการปะทะกันบ่อยๆ มีการใช้ปืนถึงเลือดถึงชีวิต
             การปะทะกันของชาวทุ่งปศุสัตว์เกิดขึ้นหนักในช่วงประมาณปี 1887  จนหลายรัฐต้องส่งทหารเข้าแทรกแซง  ความขัดแย้งถึงกับปะทะถึงเลือดถึงเนื้อ ความขัดแย้งถึงกับปะทะกันถึงเลือดถึงเนื้อระหว่างชาวลูกทุ่งปศุสัตว์กับชาว ไร่หนนั้นยังไม่รุนแรงเท่าเมื่อครั้งชาวไร่ปศุสัตว์ปะทะกันเองเมื่อปี 1892 ในรัฐไวโอมิ่งเรียกกันว่า RUSTLE WAR เหตุเกิดจากปัญหาอาชญากรรมที่เกิดตามมาจากคนหมู่มากตามยุคสมัย คือพวกโจรขโมยม้า-วัว  ถึงกับบาดเจ็บล้มตายกันหลายคน  พวกคาวบอยเข้าร่วมสมทบกับเขาด้วยมากมาย  ทั้งช่วยเพื่อนพ้องและเพื่อตัวเอง  จนรัฐบาลต้องส่งทหารม้ามาหย่าศึก   เหตุการณ์ทั้งสองครั้งนี้ทำให้เหล่า คาวบอยพากันลงจากหลังม้ามากมาย  โดยเฉพาะครั้งหลังต่างพากันลงจากหลังม้าแทบตลอดกาล

      คาวบอยเท็กซัส


            คนอเมริกันยุคนี้มีมากมายที่คิดว่าคาวบอยในชีวิตจริงอาจจะโลดโผนน้อยกว่าใน นิยายหรือภาพยนตร์  ไม่ว่าจะเรื่องความเป็นอยู่  การทำงานประจำวันทำงานเหงื่อโทรมกายท่ามกลางแสดแดดร้อนตับแล่บ 110 องศาในแอริโซนาหรือหนาวเย็นเสียดกระดูกลบ 40 องศาในมอนทานา
               ถึงอย่างไรก็ดี  ตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมากับความเป็นจริงที่ประจักษ์มีหลักฐานเป็น เอกสารมากมาย  ความเพ้อฝันจินตนาการอาจมีเกินเลยไปบ้าง ยุคสมัยของตำนานคาวบอยว่าด้วยการต้อนฝูงวัวไปกันเป็นร้อยเป็นพัน  ฝ่าความทุรกันดารไปไกลเป็นอยู่ช่วงเวลาราว 1 ชั่วคนเท่านั้น  คือ  จากปีที่สิ้นสุดสงครามกลางเมือง  เพื่อเปิดตลาดเนื้อวัวทางภาคตะวันออก  เมื่อมีทางรถไฟวางไปถึงแคนซัส  จนถึงกลางทศวรรษ 1880   เมื่อพื้นที่ดินกว้างใหญ่รัฐบาลเปิดให้คนอพยพย้ายถิ่นได้ตั้งหลักแหล่งมี ที่ทำกินมีรั้วลวดหนามกั้น เป็นอันสิ้นสุดการเลี้ยงวัวเลี้ยงม้าแบบปล่อยทุ่ง
                ข้อมูลจากประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาเริ่มมีการสร้างทางรถไฟกันก่อนปี 1855 แล้ว  เพราะในปีนั้นวันที่ 21 เมษายน มีรถไฟขบวนแรกแล่นข้ามแม่น้ำมิสซิสซิปปี้  ที่ย่านเมืองร็อคไอส์แลนด์  รัฐฮิลลินอยส์  เชื่อมกับฟากตรงข้ามที่ย่านเมื่อง ดาเวนพอร์ท  รัฐไอโอวา ส่วนทางรถไฟข้ามทวีปจากตะวันออกไปสู่ตะวันตก  สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 1869 ในวันที่ 10 พฤษภาคม  มีการตอกหมูดทองไว้ที่เมืองโพรมอนทอรี่  รัฐยูทาห์  เป็นที่หมายว่าที่นี่คือ  สถานีชุมทางรถไฟสายเซ็นทรับแปซิฟิกและยูเนี่ยนแปซิฟิก  ที่แล่นข้ามประเทศ
                 ต้นกำเนิดคาวบอยจริงๆ มิได้เกิดขึ้นในสมัยการต้อนวัว ซึ่งตามหลักฐานที่ได้ระบุว่าจำนวนคาวบอยที่ต้อนวัวขึ้นเหนือมีไม่เกิน 4 หมื่นคน ต้นกำเนิดคาวบอยอเมริกันจริงๆ นั้น เกิดในเท็กซัสเป็นจุดแรกในช่วงปีทศวรรษ 1850 เมื่อนักบุกเบิกรุ่นแรกๆ บางคนจับวัวที่เร่หากินเป็นฝูงๆ มาเลี้ยงและฆ่าเอาเนื้อป้อนตลาด  แต่ต้องผิดหวัง เพราะตลาดไม่ค่อยมี   ถึงอย่างไรก็ดี ว่ากันว่าถ้าไม่มีวัวพวก “ลองฮอร์น”  พวกคาวบอยก็คงไม่ได้เกิดเช่นเดียวกันกับตำนานการต้อนวัวตลอดจนเพลงคาวบอยที่ เขาร้องกล่อมวัวตอนกลางคืน
                “ลองฮอร์น”  เท็กซัสทั้งน่าดูและน่ากลัว  ตัวใหญ่ทึบ เขายาวแผ่กางออก ปลายเขาแหลมราว 6 ฟุต  ตัวที่เคยทำประวัติการณ์ไว้คือเขายาว 8 ฟุต  จัดว่าเป็นวัวที่ดุร้ายชนิดหนึ่ง คนเท็กซัสทั้งคนพื้นเมืองและอพยพย้ายถิ่น  แต่ไหนแต่ไรมาในเท็กซัสไม่เคยมีใครเลี้ยงวัวกันเป็นฝูงจำนวนมากๆ ทั้งไม่รู้จักการเลี้ยงการต้อนบนหลังม้า จนกระทั่งได้ที่พึ่งพาอาศัยเพื่อนบ้านเป็นครูทั้งเม็กซิกัน  ที่ถูกสเปนปกครองจนพูดภาษาสเปนหมดแล้ว  พวกนี้เป็นเผ่าพันธุ์เดียวในยุคนั้นก็ว่าได้ที่เป็นนักเลงม้าอาชีพเขาเรียก ตัวเองว่า “วาคีโรส์” จากความช่ำชองของคนอเมริกันทำให้คาวบอยเท็กซัสได้เรียนรู้วิธีควบม้าฝ่าเข้า ในฝูงวัว  เรียนรู้วิธีขว้างบ่วงบาศจับวัว
คำภาษาสเปนที่คนเม็กซิกันใช้กันอยู่ในวงการปศุสัตว์พวกคาวบอยก็เอามาใช้มากมายหลายคำ  เช่น
วาคีโรส์      เพี้ยนเป็น   บัดทรู
แรนโช       เพี้ยนเป็น   แรนช์
กางเกงหนังชั้นนอกคาวบอยเม็กซิกันเรียก  ซาปาเรโฮส    เพี้ยนเป็น  แช็ปส์
เชือกบ่วงบาศ   ลาลีอาดา    กลายเป็น  ลาเรียต
บรองโคบาโย  (ม้าพยศ)  กลายเป็น  บรองค์
                สำหรับเหล่าคาวบอยว่ากันว่าไม่มีอะไรท้าทายและหนักหนาสาหัสเท่ากับภาระ  งานการต้อนฝูงวัวไปไกลๆ มันเหมือนการผจญภัยครั้งใหญ่ฝูงวัวเป็นร้อยเป็นพัน  เดินทางไกลกว่า 1,000-2,000 ไมล์  มีความอันตรายความลำบากมากมาย  ค่าแรงก็ได้คนละ 25-30 ดอลลาห์ต่อเดือน พอจะมีตัวอย่างให้เห็นถึงภาระหนักหนาสาหัส และความยากลำบากของคาวบอยรายหนึ่งนาม  เบย์ลิส  เพลทเชอร์  เขียนเล่าไว้ในสมุดบันทึกประจำวันเมื่อคราวต้อนวัวหนแรก  มีฝูงวัวราว 2,500 ตัวจากเมือง  คอร์พุสตีไปด็อดจ์ซิตี้ตามเส้นทาง “ชิสโฮลัม เทรล” ในบันทึกเล่าว่าความยุ่งยากวุ่นวายเกิดขึ้นในวันที่สองขณะต้อนวัวผ่านเมือง เล็กๆ เมืองหนึ่ง  วัวเกิดวิ่งเตลิดเหตุเพราะหญิงชราคนหนึ่งถอดหมวกผ้าสีแดงโบกไล่วัวมิให้เข้า ไปย่ำแปลงกุหลาบของแก่ “...เจ้าพวกนั้นมันทำตามคำแนะนำของแกอย่างเอาจริงเอาจัง…”  คาวบอยหนุ่มเขียนไว้อย่างนั้น  มันวิ่งพล่านไปทั้งเมือง  กว่าจะต้อนรวมฝูงได้ก็เหงื่อโทรมเสียเวลาไปชั่วโมงกว่า แล้วอีก 2-3 คืนต่อมามีโจรลักวัวเข้ามาขณะนอนพักแรม มันพากันวิ่งเตลิดราวกับพายุ  นายกองหรือหัวหน้าคุมฝูงต้องระดมกำลังคาวบอยทุกคนไม่เว้น  แม้แต่คนครัว  ออกติดตามกันทั้งคืน จนรุ่งเช้ายังไม่พบกว่าร้อยตัว
               คาวบอยทุกคนรู้กันดี ว่าถ้ามีอะไรทำให้มันแตกตื่นวิ่งกันอีกหนหนึ่งละก็มันจะเกิดขึ้นให้เหนื่อย เหงื่อตกไม่วันนี้ก็วันพรุ่ง  เฟลทเชอร์เล่าว่า  คืนหนึ่ง  “สวรรค์เปิด”  ฝนเทลงมามีลูกเห็บขนาดเท่าไข่นกกระทา  ฝูงวัวแตกตื่นวิ่งเตลิด  บางทีอยู่ดีๆ มันก็เพริดทั้งที่ไม่มีเหตุอะไร  คนซวยก็พวกคาวบอยต้อนวัวตามเคย วัวแต่ละฝูงจะมีจำนวนแตกต่างกันไม่ตามขนาดของไร่  ถ้าเป็นจำนวนมากฝูงใหญ่ก็จะมีคาวบอยต้อนวัว  8-12  คนอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการสั่งการของ “นายกอง”  ผู้เป็นหัวหน้าคุมฝูง  คนนี้เงินเดือนจะแพงที่สุดไม่ต่ำกว่า  125  ดอลลาร์  ยุคนั้นใครได้เงินเดือนขนาดนี้จัดว่ายอดแล้ว  และคนนี้ต้องเป็นคนมีความเก่งกล้าสามารถพอตัว  พอที่จะทำให้คาวบอยลูกเมื่อยำเกรงในฝีมือ และเวลาเรียกขานเขาใช้คำยกย่องว่า “MISTER”
               งานชิ้นแรกของคาวบอยที่ผ่านการเลือกเฟ้นแล้วคือ  การไล่จับวัวมาตีตรา  เนื่องจากวัวเป็นพันๆ ที่หากินอยู่ในทุ่งกว้างอาจมีวัวที่ตีตรารูปแบบต่างๆ ปนอยู่หลายเจ้าของ  เมื่อถึงคราวต้องต้อนไปขายเดินทางไกลจำเป็นต้องตีตราใหม่เหมือนกัน  เพราะวัวที่ต้อนไปขายมิใช่มีเพียงฝูงเดียว  แต่ละเส้นทางอาจมีเป็นสิบๆ ร้อยๆ เจ้าระหว่างทางอาจจะปนเปกันหรือวิ่งเตลิดเข้าไปในฝูงอื่น
              การไล่ต้อนแยกวัวของตนออกจากฝูงอื่น  ไล่ต้อนเข้าซองจัดการตีตราและต้องรีบเร่งให้ทันกำหนดเดินทาง  เรียกว่า “ROAD-BRANDING” พอได้เวลาเคลื่อนขบวนซึ่งต้องออกเดินทางตั้งแต่เช้าตรู่จัดแจงต้อนฝูงวัวกับ ม้าสำรองเข้ารูปขบวน  การต้อนวัวไปทางไกลเขาเรียก “LONG DRIVER” คนร่วมขบวนเรียก “TRIAL DRIVER” พวกคาวบอยจะขี่ม้าขนาบสองข้าง  ตามหลังกันห่างพอสมควร  คอยระวังมิให้ขบวนแตก  ตัวนายกองจะขี่ม้าล่วงหน้าไปก่อนเพื่อเสาะหาทุ่งหญ้าและแหล่งน้ำถัดมาข้าง หลังราว 100 ตัว เป็นผู้มีประสบการณ์ต้อนวัวที่สุด 2 คนนี้ คือคนนำทางมีหน้าที่นำไปทางสะดวกและไม่หลงทาง  นอกนั้นยังมีอีก 2-3 คน มีหน้าที่คอยไล่ต้อนวัวดื้อให้เข้ากลุ่ม  คนที่แย่ที่สุดคือคนระวังหลังอย่างน้อย 2-3 คน  ซึ่งต้องคอยจัดการกับวัวเจ็บ และวัวดื้อ  วัวขี้เกียจให้เข้ากลุ่มและที่แย่ที่สุดคือต้องกินฝุ่นทั้งวัน  จนพวกคาวบอยด้วยกันนินทาว่าถ้าใครอยากเรียนรู้หรือฟังคำสบถคำเด็ดๆ ต้องฟังจากพวกนี้ ห่างจากขบวนฝูงวัวไปเล็กน้อยคือ ฝูงม้าสำรอง  ที่มีคาวบอย 2-3 คนคุมอยู่  กลางวันต้อนขนานไปกับฝูงวัวกลางคืน  ก็ดูแลให้กินหญ้ากินน้ำ
             ภาระของคาวบอยแม้จะแสนหนักหนาสาหัสก็ต้องทนนี้เป็นข้อความของคาวบอย นามว่า  จอร์  ดัฟฟิลด์  เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 1866 “...เกวียนของเราพลิกคว่ำตอนลุยข้ามแม่น้ำ  เครื่องครัวหายไปหลายชิ้น  ต้องแกร่วอยู่บนหลังม้าทั้งคืน  ฝนตกหนักทั้งคืน  มีดก็หาย ในนี้เพื่อนคนหนึ่ง (มิสเตอร์คาร์)  จมน้ำตาย  อีกหลายคนรอดตายหวุดหวิด  รวมทั้งผมด้วย  หลายคนป่วยม้าตื่นแตกฝูง  หลายคนไม่ยอมทำอะไรเพราะทำไม่ไหว  เป็นคืนแสนสาหัสนักไม่มีอะไรใส่ท้องเป็นเวลาราว 60 ชั่วโมงแล้ว  แสนเหนื่อย  พวกอินเดียนแดงกวนใจมาก  โอ...มันเป็นค่ำคืนที่สาหัสอะไรอย่างนี้  ฟ้าร้อง  ฟ้าผ่าทั้งคืน – เราตามฝูงวัวไปทั้งคืน  ปล่อยให้มันเดินไปเรื่อยๆ ทั้งวัน  เราะช่วยกันฉุดขึ้น  จากหล่มโคลน   เหนื่อยยากกันร่วมครึ่งวัน- วันๆ ช่างร้ายกาจอะไรเช่นนี้  วันนี้พอมีกินมีแต่ขนมปังกับกาแฟ  เราหยิบยื่นแบ่งกันกินบ่นกันไป  สบถกันไป  อะไรๆมันชุ่มโชกไปหมด  หนาวสั่นท้อแท้-  หลังแข็งตึงเปรี้ยะจนเป็นไข้ปวดหัวแทบแตก  แมลงวันชุมไม่เคยพบเห็นที่ไหน  อากาศร้อนเหลือร้าย – วันนี้พวกอินเดียนแดงแห่กันมากวนใจอีกแล้ว พวกเราคนหนึ่งล้มนอนแซ่วเพราะเมา  อีกคนเป็นไข้ - วันนี้พบโครงกระดูกโครงหนึ่งกลางทุ่งหญ้า...



      ขบวนต้อนวัว


               พอไปถึงจุดหมายปลายทางนั่นแหละค่อยหายเหนื่อยเละได้รับทรัพย์  ตอนนั้นขายวัวกันตามน้ำหนักแล้วไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ขายเป็นรายหัว  การเดินทางจึงไม่จำเป็นต้องเร่งรีบจะได้กินหญ้าเต็มอิ่มและพักสบาย  เรียกว่าขุนไปตลอดทางยิ่งอ้วนเท่าไหร่น้ำหนักยิ่งดี แต่ช่วง 2-3 วันแรก  นายกองต้องสั่งการให้ไปไวๆ เพื่อให้วัวมันพ้นๆ ไปจากถิ่นฐานเดิมโดยเร็วที่สุด  เพราะพอถูกต้อนออกจากถิ่นที่เคยอยู่ทำให้มันสับสน  มันก็มักจะคิดถึงบ้านเหมือนคนดีไม่ดีเกิดดื้อไม่ยอมไป  พากันแตกฝูงตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง  วิ่งกันพล่านและกลับบ้านท่าเดียว
              ความมุ่งหมายของนายกองที่สั่งให้ไปไวๆ ในช่วง 2-3 วันแรกคือ  ไล่ต้อนให้มันวิ่งกันจนเหนื่อย  พอตกค่ำมันจะได้นอนพักง่ายๆ  แล้วก็ลุกขึ้นเดินทางต่อแต่ไก่โห่ขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ ผ่านทุ่งหญ้าให้มันเดินกินตามสบาย  กว่าจะเที่ยงก็ไม่ได้อย่างน้อย 5-6 ไมล์แล้ว  ก่อนเที่ยงหัวหน้าฝูงจะควบม้าลิ่วๆ ล่วงหน้าไปก่อน  มองหาทุ่งหญ้ามีน้ำดี  สำหรับมื้อกลางวันของมันให้กินกันอิ่มหมีพีมัน ช่วงที่น่าตื่นเต้นระทึกไปตามๆ กัน คือ ตอนที่ผ่านเข้าเขตอินเดียนแดงต้องพยายามต้อนวัวไปกันอย่างสงบเสงี่ยม  บางทีเจ้าของถิ่นจะแห่กันมาเรียกร้องค่าผ่านทาง  การเจรจาต่อรองเป็นเรื่องของนายกอง  จนกว่าแกจะชูสองแขนขึ้นกางออกเฉียงๆ เป็นภาษาสากลมีความหมายว่าให้คัดไปได้เลยหนึ่งตัว
              พอตกเย็นเมื่อดวงตะวันใกล้จะลับเหลี่ยมเขาจวนจะได้เวลาพักแรม  นายกองก็มีภาระต้องหาที่ทางตามเคย  แล้วนายกองจะเอาหมวกโบกเหนือหัวช้าๆ เป็นสัญญาณสั่งให้ต้อนวัวออกนอกแนวทางไปยังที่นอนพักแรมคืนที่แกได้เลือกไว้ แล้ว  ถ้ามันอิ่มหมีพีมันดีก็จะทยอยกันล้มตัวลงนอนทีละตัวสองตัว  การจัดที่ทางให้มันนอนก็ค่อนข้างจะเป็นงานจุกจิก และมีหลักเกณฑ์ของพวกคาวบอยต้อนวัวพอสมควร  ต้องพยายามอย่าให้มันนอนชิดกัน และอย่าให้กระจัดกระจายกันมากนัก  เขาจะใช้ประตักทิ่มๆดันๆ ให้มันเปลี่ยนที่นอน
              คาวบอยทุกคนต้องมีหน้าที่เข้ากะอยู่เวรยามกลางคืน  ยกเว้นพวกคนครัวและคนดูแลม้า  เข้ากะละ 2 คน  ประจำจุดตรงข้ามกันห่างจากที่มันนอนอย่างน้อย 40-50 ก้าว  จะได้ไม่ทำเสียงรบกวนเวลาพักผ่อนของมันแล้วยังต้องร้องเพลงขับกล่อมมันด้วย  เขาว่ากันว่าเสียงเพลงขับกล่อมจะทำให้มันหลับง่ายหลับสบาย คนที่มีหน้าที่ต้องอยู่เวรยามต้องรู้หน้าที่ตัวเองดี  น้อยคนที่จะตื่นไม่ทัน  เวลานอนเขาจะนอนเอาหูแนบพื้นจะได้ยินเสียงฝีเท้าม้าของคนที่อยู่ยามกะก่อน เมื่อผละจากฝูง
               กล่าวถึงลำนำคาวบอยสักนิด  ลำนำคาวบอยกล่อมวัวส่วนมากไม่มีเนื้อทำนองอะไรก็ได้  เป็นเพียงทำนองวังเวง เสียงทุ้มๆ ทอดเสียงช้าๆ ส่วนลำนำแก้เหงาของคาวบอยต้อนวัวแตกต่างออกไป  มักต้นกลอนสดบรรยายถึงความละเหี่ยเศร้าสร้อย  ความยากลำบากของชีวิตคาวบอย  พอดันเนื้อไม่ออกก็มักจะกระทุ้งด้วยสร้อยอย่างเพลงหนึ่งที่ชอบร้องกันและจำ ต่อเนื่องกันมาคือเพลง  “The Old Chisholm Trail” มีเนื้อร้องดังนี้  บางทีใช้กล่อมวัวพอได้

     ยุคทองคาวบอย


         มีผู้พบทองคำหนแรกในแคลิฟอร์เนียในวันที่ 24 มกราคม ปี 1848 ก่อให้เกิดการตื่นทองกันใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์อเมริกา ปีถัดมาพวกนักแสวงโชคตื่นทองก่อให้เกิดยุคสมัยที่เรียกว่า “ยุคตื่นทอง” แห่กันไปแคลิฟอร์เนียราว 8 หมื่นคน มุ่งตายเอาดาบหน้าหวังร่ำรวย พวกนี้เองก่อให้เกิดตลาดเนื้อวัวในย่านนั้นและค่อยๆขยายขนาดใหญ่ขึ้น เพราะผู้คนนักแสวงโชคอพยพย้ายถิ่นไปตั้งรกรากใหม่พากันไปเรื่อยๆทุกปีเป็น เวลาหลายปีโดยเฉพาะพวกนักขุดทองที่มักเรียกตัวเองว่าพวกเหมือง แล้วคนเท็กซัสเมื่อทราบข่าวคราวการร่ำรวยของคนเหมือง ในขณะที่ตนร่ำรวยวัวแต่ไม่มีที่ขาย เริ่มหลับตามองเห็นตลาดที่ระบายเนื้อวัว
              แต่ว่านั่นก็เป็นแค่ฝันหวานหรือฝันกลางวัน เพราะการเดินทางจากเท็กซัสไปซัคราเมโต้ ในแคลิฟอร์เนียมิใช่ใกล้ๆ ต้องฝ่าอันตรายและความยากลำบาก ก็มีเหมือนกันที่มียอมเสี่ยงดวง มีชาวปศุสัตว์เท็กซัสหลายคนเคยต้อนวัวไปขายที่นั่น แต่ก็มีเพยง 2-3 คนเท่านั้นที่พอจะทำกำไรได้จัดว่าพอจะเป็นกอบเป็นกำ คนเหล่านี้มีความอุตสาหะฝ่าฟันไปล้วนต้องทรหดอดทน ข้ามทะเลทรายอันกว้างใหญ่กว่าจะพ้นก็ทิ้งซากวัวไว้เป็นสิบๆร้อยๆตามรายทาง
            ที่ตลาดใหญ่นิวยอร์กก็มีคนเสี่ยงดวงไปเหมือนกัน แต่รายที่อุตสาหะบุกบั่นไปจนได้และเป็นที่เกรียวกราวในหน้าหนังสือพิมพ์ และเป็นที่เล่าลือกันกว้างขวางคือ มาโลน กับ พอยทิ่ง การต้อนวัวไปหนนั้นของสองเกลอไม่ได้ไล่ต้อนไปตลอดทาง ซึ่งพวกเขามีวัวประมาณ 800 ตัว ตัดเส้นทางจากเท็กซัสขึ้นเหนือผ่านแคนซัส ลัดเข้าอินเดียน่า ตรงไปเมืองมุนซี ต้อนขึ้นรถไฟไปลงที่นิวยอร์ก จากนั้นต้อนผ่านกลางเมืองไปตามถนนสาย 3 ไปยังตลาดซื้อขายที่ถนน 24
            คนนิวยอร์กไม่เคยเห็นตัวอะไรที่ดูทะมึนใหญ่โตมีเขาน่ากลัว “ลองฮอร์น”  วัวเขายาวจากเท็กซัส เห็นเป็นตัวประหลาดแห่กันไปดูคับคั่งสองฝากถนน ไอ้พวกเขายาวก็ไม่เคยพบเห็นผู้คนมากมายพลุกพล่าน เดินตามถนนเดี๋ยวเดียวมันก็ตื่นแตกฝูงวิ่งกันพล่านชนข้าวของริมถนนพังวินาศ สันตะโร ผู้คนหนีหายกันอุตลุด ไม่กี่วันต่อมาหนังสือพิมพ์ที่นั่นเขียนว่าเนื้อวัวจากเท็กซัสเหนียวไปหน่อย แต่ว่ามันทำเงินให้เจ้าของที่อุตส่าห์ดั้นด้นไป ถึงตัวละ 80 ดอลล่าห์
           หลัง จากนั้นไม่นานก็ถึงยุคการต้อนวัวไปขายไกลๆ ไปกันฝูงหนึ่งเป็นร้อยๆพันๆตัว ฝูงแรกๆออกจากเท็กซัสในปี 1866 หลังจากชาวปศุสัตว์รู้มาว่าทางรถไฟสายพุ่งมาทางตะวันตกสายหนึ่งได้วางรางถึง เซลาเดียในรัฐมิสซูรี่แล้ว นั่นเป็นข่าวดี เพราะจากจุดนี้ขาจะต้อนวัวขึ้นรถไฟเอาไปขายที่ตลาดชิคาโกก็ได้ จะเลยไปนิวยอร์กเลยก็ได้
           ดังนั้นพอย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิปีนั้นจึงเต็มไปด้วยความชุลมุนของเหล่าชาวปศุ สัตว์ ต่างยกขบวนคาวบอยออกทุ่งจัดการต้อนวัวที่ปล่อยไว้มาตีตรา และหาคนเตรียมออกเดินทาง ในฤดูเดียวกันนั้นมีหลักฐานระบุว่าการต้อนวัวออกเดินทางที่เรียกว่า “ลองไดร์ฟ” มุ่งขึ้นเหนือมีประมาณ 260,000 ตัวไปตามเส้นทาง “ชอว์นี่” ผ่านดัลลัสข้ามเขตอินเดียนแดงเข้าตะวันออกเฉียงใต้ของแคนซัส
            เพื่อคุ้มครองวัวในท้องถิ่นให้พ้นจากเห็บที่ติดมากับลองฮอร์นจากเท็กซัส ทั้งแคนซัสและมิสซูรี่ได้ออกกฎหมายกักด่านตรวจโรคสัตว์ห้ามวัวจากเท็กซัสที่ ไม่ผ่านด่านตรวจโรคเข้ามาในช่วงฤดูร้อน แต่คนเท็กซัสติดอยู่กับความคิดที่ว่าวัวมีความทนทานต่อความหนาวเย็นในแคนซัส ได้ ดังนั้นการที่จะต้อนวัวไปให้ตลอดรอดฝั่งได้ต้องไปหน้าร้อนเท่านั้น จึงมีผู้แอบต้อนอยู่เสมอก็เลยโดนชาวปศุสัตว์แคนซัสต่อต้านด้วยปืน ที่ร้ายกว่านั้นมีโจรที่เรียกตัวเองว่า “เจย์วอร์คเกอร์” ดักปล้นววัวจากเท็กซัสบางทีก็จับหัวหน้าหรือลูกมือไปซ้อม
            นายกองหัวหน้าฝูงคนหนึ่งชื่อ จิม ดาฟเฮอร์ธี พาฝูงวัวผ่านแคนซัสถูกโจรเจย์วอร์คเกอร์ดักปล้นฆ่าคนต้อนวัวตายไปหนึ่งคน จิมเองถูกจับมัดกับต้นไม้กับต้นไม้ถูกโบยจนต้องยอมต้อนวัวกลับเท็กซัส
           ภัยก่อกวนจากโจรผู้ร้ายทำให้คนที่คิดจะต้อนวัวขึ้นเหนือผ่านไปทางนั้นต้อง คิดกันหลายตลบ แต่ก็ไม่ถึงกับสิ้นหวังเพราะมี “ม้าขาว” เข้ามาช่วย เขาชื่อ โจเซฟ จี แมคคอย คนผู้นี้เป็นที่แซ่ซ้องในวงการปศุสัตว์ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งตลาดปศุสัตว์ ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น ขาได้ติดต่อเร่งรัดให้บริษัทการทางรถไฟสายแคนซัสแปซิฟิกกำหนดอัตราพิเศษค่า บรรทุกวัวจากแคนซัสไปชิคาโก ส่วนจุดเอาวัวขึ้นรถไฟเลือกเอาสถานีอาบีลีน ที่นี่เขาลงทุนซื้อที่ดินใกล้สถานีเพื่อทำโกดังขนถ่ายสินค้า ทำคอกวัว และช่องต้อนวัวขึ้นรถไฟ ซื้อโรงแรมแห่งหนึ่งเพื่อพวกต้อนวัวจะได้มีที่พักหลับนอน และเขาส่งลูกน้องไปเท็กซัสประกาศบอกเรื่องราวความพร้อมที่อาบีลีน แล้ววันหนึ่งเขาได้ทำเรื่องเกรียวกราวที่สุดโดยเอาลองฮอร์นตัวหนึ่งน้ำหนัก ราว 2,300 ปอนด์ ขึ้นรถไฟไปกับคณะละครเร่ที่แสดงเรื่องตำนานตะวันตกกับวัวอีกจำนวนราวร้อยตัว ส่วงขึ้นรถไฟไปชิคาโก ข้างตู้ติดโปสเตอร์ผืนใหญ่มีข้อความว่า “อาบีลีน,แคนซัส ตลาดวัวเท็กซัส” รถไฟขบวนนี้ไม่ว่าจะแวะจอดที่ใดก็มีผู้คนแห่ไปมุงดูของแปลกตา นับแต่นั้นมาอาบีลีนก็กลายเป็นที่ชุมนุมของบรรดาพ่อค้าซื้อขายวัว ทำให้วัวเท็กซัสซื้อง่ายขายคล่อง เส้นทางต้อนวัวจากเท็กซัสไปอาบีลีนขณะนั้นเรียกว่า “เส้นทางชิสโฮล์ม” เป็นเส้นทางต้อนวัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดทางตะวันตกในยุคนั้น.



    เมืองคาวบอย


               อาบีลีนเป็นชุมชนเล็กๆ อาคารบ้านช่องนับได้ไม่กี่หลัง ไม่เชิงจะเรียกว่าเป็นเมืองนัก แต่สำหรับกับเหล่าคาวบอยที่บุกบั่นความลำบากรอนแรมนานวัน เมื่อได้เหยียบย่างเข้าไปในเมืองทุกคนต่างรู้ตัวดีว่าต้องการอะไรมากที่สุด ถ้าใคร คิดว่าจะมีอะไรเสียอีกนอกจากเหล้ากับผู้หญิงนั่นคิดผิดซะแล้ว สิ่งแรกที่ทุกคนปรารถนามากที่สุดคือ การได้ตัดผม โกนหนวดโกนเครา อาบน้ำเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเป็นชุดสะอาดสะอ้าน แล้วหาอะไรอร่อยๆกิน แล้วเปลี่ยนชุดอีกทีที่คิดว่าโก้หรูสุด จากนั้นก็มองหาที่ทางตักตวงความสุขสำราญ เพราะเหล้ากับงานต้อนวัวเข้ากันไม่ได้ จึงมีกฎเข้มงวดในแดนปศุสัตว์ว่าเวลาต้อนวัวห้ามพกเหล้าเด็ดขาด ดังนั้นเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง เข้าเมืองเมื่อใดพวกต้อนวัวจึงซดกันชนิดแทบจะกอดขวดเลยทีเดียว เขาเรียกพวกนี้ว่า “bottle fever”
             แต่ใช่ว่าจะได้พักผ่อนหาความสำราญกันทุกคน บางคนต้องอยู่โยงเฝ้าวัวจนกว่าจะขายเปลี่ยนมือไปแล้ว ยิ่งบางรายไปถึงล้าหลังกว่าฝูงอื่นเขาจะต้องหยุดอยู่ห่างจากเมืองออกไป 5-6 ไมล์ พวกนี้ก็ได้แต่นั่งจับเจ่าอยู่บนหลังม้าจนกว่าพรรคพวกจะมาเปลี่ยนกะ
หัวหน้าฝูงย่อมรู้ว่าในเมืองที่น่าสนุกนั้นมันเป็นสวรรค์ของนักพนัน นักเลงปืน และผู้หญิง ดังนั้นต้องชะลอใจลูกน้องไว้บ้างโดยจ่ายค่าแรงล่วงหน้ากะพอให้สนุกได้เพียง ชั่วคืน
            ดังกล่าวแล้วว่าอาบีลนเป็นเมืองเล็ก แต่ระหว่างฤดูการต้อนวัวจากเดือน พ.ค.-ก.ย. จะคลาคล่ำไปด้วยพวกคาวบอย พ่อค้าวัว-ม้า ธุรกิจขึ้นหน้าขึ้นตาที่นี่คือสถานบันเทิง ในช่วงนี้จะแน่นขนัดไปด้วยลูกค้า ซึ่งเป็นที่เปรมปรีด์ของเจ้าของสถานบริการ
           ในเดือนเมษายนปี 1871 ผู้คนในเมืองนี้มีไม่เกิน 500 คน แต่อีก 3-4 เดือนต่อมาเมื่อกิจการปศุสัตว์เฟื่องฟู ผู้คนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นกว่า 7 พันคน ว่ากันว่าโรงเหล้ามักจะมีโต๊ะพนันให้ฟันกำไรกันอื้อซ่า รถไฟแต่ละขบวนแน่นไปด้วยพวกผู้หญิงที่มุ่งหน้ามาทำมาหากิน ที่ขาดเสียไม่ได้คือเซลล์ขายเหล้า มีโรงเหล้าถึง 20 โรง ที่โอ่อ่าที่สุดลูกค้าแน่นทุกวันคือ ร้าน “อลาโม่” ร้านนี้เปิดโต้รุ่ง มีบาร์เทนเดอร์เข้าเวรเป็นกะหมุ่นเวียนกันเป็นชุดๆละ 12 คน มีดนตรีระดับวงออเคสตร้าให้ความบันเทิงถึง 3 วง
            เหล่านักพนันมืออาชีพมักหลอกล่อพวกคาวบอยเข้าร่วมวงได้ทุกวัน แล้วพวกคาวบอยก็เป็นฝ่ายหมดเนื้อหมดตัว ความเอะอะวุ่นวายเป็นอยู่แทบทั้งวันทั้งคืน มียิงกันดวลกันไม่เว้นแต่ละวัน จนชาวเมืองผู้รักสงบทนไม่ไหว และชาวแคนซัสไม่สบอารมณ์ขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งมีกฎหมายของรัฐฉบับหนึ่งผ่านสภานิติบัญญัติออกมา มีบทบัญญัติห้ามรถไฟรับ-ส่งวัวที่สถานีเมืองนี้อีก ทำให้ตลาดซื้อขายวัวต้องย้ายไปสถานีอื่น แรกทีเดียวย้ายไปที่เมืองเฮย์ ที่อยู่ถัดไป หลังจากนั้นก็ย้ายไปอีก ไปยังเมืองอื่นทางตะวันตกเรื่อยๆ เช่น เอลส์เวิร์ธ,นิวตัน,วิชิต้า และดอจ์ดซิตี้ เมื่อย้ายสถานีขนส่งวัวไปที่ใดฝูงวัวก็ต้องต้อนย้ายตามไป นั่นทำให้เมืองเหล่านี้ครึกครื้นไปทุกแห่ง.


       เครื่องทรงคาวบอย


            เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวของเหล่าคาวบอยไม่เหมือนคนอื่น ใครพบเห็นที่ไหนก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นคาวบอย พวกหากินบนหลังม้าวันๆใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับม้ากับวัว



            เสื้อผ้าเครื่อง ทรงคาวบอยใครๆดูแล้วคิดว่ากะทัดรัดดี หรือสวยดี แต่จริงๆแล้วที่เขาสวมใส่มิได้หวังผลอย่างนั้นเลย นอกจากเพื่อความสะดวกในการทำงานและประโยชน์ในการใช้สอย
           เสื้อกางเกงเป็น ผ้าเนื้อหนาทนทานรัดรูป จะได้ไม่ต้องมีอะไรยึดโยงรั้งให้เกกะการทำงาน มีมากมายที่ไม่ชอบเข็มขัด เขาว่าอาจทำให้เป็นไส้เลื่อนเพราะโดนมาเขย่าอยู่ทุกวัน เสื้อนอกเสื้อคลุมหรือก็ดูรุ่มร่าม เรื่องแฟชั่นทั้งหลายจะเปลี่ยนกันไปถึงไหนอย่างไรเขาไม่รู้เรื่อง
           นอกจากเสื้อเชิ้ตที่นิยมกันไม่เป็นผ้าฝ้ายก็เป็นผ้าสักหลาด และไม่มีปก แล้วก็ทับด้วยเสื้อกั๊กที่มิได้ใช้เพื่อความอบอุ่น แต่เพื่อความกระชับ และเป็นคลังเก็บข้าวของเครื่องใช้ประจำตัว เช่น กลักไม้ขีด ถุงยาเส้น กระดาษมวน หรือสมุดไว้จดอะไรต่อมิอะไร
           เครื่องทรงสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือหมวก สียอดนิยมคือสีเทาอ่อน รองลงไปเป็นที่น้ำตาลอ่อน คนชอบสีดำก็มีบ้าง ขอบหมวกดัดแต่งรูปทรงตามใจชอบ แต่ที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือขอบหมวกกว้าง บางคนเพิ่มความเท่ด้วยขอบประดับริ้วไหมสีเดียวกับหมวก ความกว้างของมันคือใช้ประโยชน์ช่วยกันแสงแดด ขอบหมวกรวบเข้าหากันเป็นรางรองน้ำกินได้ เวลาหิมะตกก็ดึงลงมาปิดหูกันหิมะกัด
           หมวกที่เหล่าคาวบอยนิยมในยุคนั้น เป็นฝีมือบริษัทหนึ่งอยู่ที่ฟิลาเดลเฟียเจ้าของชื่อ จอห์น บี สเตทสัน เจ้าของชื่อยี่ห้อหมวกอันเลื่องลือผู้นี้คือคนออกแบบหมวกที่เรียกว่า “เท็น แกลลอน” เป็นหมวกทรงปีกกว่า เขามักเรียกกันว่าหมวก “สเตทสัน” และไม่ว่าจะยี่ห้อไหนถ้าเขาชอบ เขาถือว่าเป็นสมบัติที่มีค่าชิ้นหนึ่ง ยอมซื้อแม้ต้องควักกระเป๋าจ่ายเท่ากับเงินเดือน 3-4 เดือน

    หมวก



             หมวก เท็นแกลลอนปีกกว้างที่คาวบอยเรียนว่าหมวกสเตทสันตามชื่อคนออกแบบโด่งดังแค่ ไหนก็ลองคิดดูว่า ปกติระหว่างคาวบอยแดนตะวันตกเฉียงใต้กับคาวบอยแดนตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมี รสนิยมต่างกันเห็นได้ชัด คาวบอยตะวันตกเฉียงใต้ชอบหมวกทรงกระบอกหรือยอดแหลมปีกกว้างประดับลวดลายตาม แบบอย่างเม็กซิกันที่เรียก “sombrero” ส่วนคาวบอยตะวันออกเฉียงเหนือชอบทรงป้าน หรือบีบเป็นร่องบุ๋ม เรียกว่า “hat” ตามภาษาอเมริกัน แต่พอเท็นแกลลอนออกวางตลาดคาวบอยทั้งสองแดนก็หันมานิยมคลั่งไคล้เหมือนกัน หมด และถ้าเป็นหมวกปีกกว้างเขาเรียก สเตทสัน เหมือนกัน
           ประโยชน์ของหมวก ไม่ว่าจะแบบไหนทรงอะไร ใช้แทนพัดได้ พัดโหมกองไฟในแคมป์ ใช้เป็นภาชนะตักน้ำ ใช้เป็นเครื่องส่งสัญญาณ เวลาพักแรมต้องนอนพื้นดินแข็งๆ เขาว่าเอาอัดเข้าที่สะโพกหรือไหล่จะทำให้รู้สึกว่าที่นอนนุ่มขึ้น ใช้พิชิตวัวดุโดยครอบเข้าที่หน้าเวลามันพุ่งเข้าหา

      วิชาคาวบอย




ศึกลินคอล์นเคาน์ตี


             ในศึกครั้งนี้มีคนในวงคาวบอยรู้จักร่วมอยู่ด้วย นั่นคือ Billy The Kids  หรือ Henry McCarty หรือ Willaim H. Bonney และ นายอำเภอ Pat Garrett