Welcom To Sukhirin " เมืองในหมอก...ดอกไม้งาม...ต้นน้ำสายบุรี...ประเพณีหลากหลาย...นวนิยายเพชรพระอุมา...ล้ำค่าเหมืองทองคำ...ตำหนักสุคิริน

ประวัติอำเภอสุคิริน




ประวัติความเป็นมา

               อำเภอสุคิริน เดิมเคยเป็นกิ่งอำเภอหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้นก่อนปี ๒๔๗๔  ชื่อ " กิ่งอำเภอปาโจ " ขึ้นกับอำเภอโต๊ะโม๊ะ ( อำเภอแว้งในปัจจุบัน )  
               ชาวฝรั่งเศสได้รับสัมปทานการทำเหมืองแร่ทองคำที่บริเวณภูเขาลีซอ ( ภูเขาโต๊ะโม๊ะปัจจุบัน )  ซึ่งในขณะนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลโต๊ะโม๊ะ ( ตำบลภูเขาทองในปัจจุบัน ) ราษฎรจึงได้อพยพเข้ามาทำงาน ที่เหมืองแร่ทองคำเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้จัดตั้งกิ่งอำเภอปาโจ ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๗๔ สมัยหม่อมทวีวงศ์ ถวัลศักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ขึ้นการปกครองกับอำเภอโต๊ะโม๊ะ (อำเภอแว้งปัจจุบัน) โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ ตำบล คือ ตำบลโต๊ะโม๊ะ และตำบลมาโมง มีประชากร ๒,๐๐๐ คน เศษ ตั้งที่ว่าการอำเภอปาโจที่ตำบลโต๊ะโม๊ะ เพื่อสะดวกต่อการปกครอง การให้บริการแก่ประชาชน และดูแลผลประโยชน์ของทางราชการในการจัดเก็บภาษีอากร

                กิ่งอำเภอปาโจแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ ตำบล คือ 

                      ๑.  ตำบลมาโมง

                      ๒. ตำบลโต๊ะโม๊ะ 

         โดยมีประชากร จำนวนประมาณ  ๒,๐๐๐  คน


     รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอปาโจ มีดังนี้

                      ๑. นายเขี้ยม ธารประดิษฐ์ พ.ศ.๒๔๗๔ –  พ.ศ.๒๔๘๑

                      ๒. นายตวด กัลละ พ.ศ.๒๔๘๑ –  พ.ศ.๒๔๘๑     ( ประมาณ ๕ เดือน )

                      ๓. นายแก้ว สุวรรณพงศ์ พ.ศ.๒๔๘๑ –  พ.ศ.๒๔๘๒     ( ประมาณ ๗ เดือน )

                      ๔. นายจ้วน มีสกะเศวต พ.ศ.๒๔๘๑ –  พ.ศ.๒๔๘๓

                      ๕. นายสงวน พรหมสังวร พ.ศ.๒๔๘๓ –  พ.ศ.๒๔๘๔


                ภายหลังสงความอินโดจีน เจ้าของเหมืองแร่ทองคำชาวฝรั่งเศส ได้หลบหนีภัยสงคราม ละทิ้งงานเหมืองแร่ทองคำ รัฐบาลไทยโดยกองโลหะกิจ กรมที่ดินและโลหะกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้คุณพระอุดมธรณีศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำแทน ประมาณ ๑ ปีเศษ ได้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปล้นสะดมทองคำและเกิดเหตุการณ์ไม่สงบทั่วไปในบริเวณเหมืองแร่ทองคำ แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้ปราบปรามผู้ก่อการไม่สงบได้ทางราชการจึงได้ล้มเลิกกิจการการทำเหมืองแร่ทองคำ และมอบหมายให้ นายสนาม  เลิศวาโช  (น้องชายคุณพระอุดม) เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินเครื่องจักรกล ราษฎรจึงได้พยายามกลับภูมิลำเนาเดิม กิ่งอำเภอปาโจจึงถูกยุบเลิกไป ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๔
                เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๐๖  คณะรัฐมนตรีได้มีมติโดยให้กรมประชาสงเคราะห์ จัดตั้งนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส เพื่ออพยพราษฎรที่มีฐานะยากจน และไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองจากท้องที่ต่าง ๆ เข้ามาประกอบอาชีพ เขตนิคมคลุมพื้นที่ ๒ อำเภอ คือ อำเภอสุคิรินและอำเภอจะแนะ  เนื้อที่ประมาณ ๕๑๐,๐๐๐ ไร่ และได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง พัฒนาภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยมีประชากรที่อพยพมาจากที่ต่าง ๆ ได้แก่

         - อพยพมาจาก ภาคกลางและภาคอีสาน คือ จังหวัด นครราชสีมา  บุรีรัมย์  สุรินทร์  
           และ พระนครศรีอยุธยา                          จำนวน   ๕๗๒     ครอบครัว

         - อพยพจากรัฐกลันตัน                          จำนวน   ๘๑๖     ครอบครัว

         - อพยพจากเขาศูนย์                             จำนวน   ๑๐๐      ครอบครัว

         - อพยพมาจากภาคใต้ทั่วไป                    จำนวน   ๒,๑๑๐  ครอบครัว

         - เป็นสมาชิกโครงการพระราชดำริ           จำนวน     ๔๐       ครอบครัว

         - เป็นราษฎรเดิมในพื้นที่                       จำนวน   ๑,๙๙๕  ครอบครัว

                                                            รวม      ๕,๖๓๓    ครอบครัว


             เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  กระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส  ประกอบด้วย  ๒  ตำบล  คือ

                             ๑.  ตำบลมาโมง 

                             ๒.  ตำบลสุคิริน  

            ต่อมาเมื่อวันที่  ๒๐  มีนาคม ๒๕๒๙  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะกิ่งอำเภอสุคิริน เป็นอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จนถึงปัจจุบัน



              คำว่า “ สุคิริน ”  เป็นนามพระตำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานเมื่อครั้งเสด็จประทับแรมในพื้นที่นี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งมีความหมายว่า 
“ พันธุ์ไม้อันเขียวชอุ่ม ”  ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา ป่าไม้ และพืชพันธ์ไม้นานาชนิด





             ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอสุคิริน

                     ๑.  นาย  โชติ     ชัวชมเกตุ               ๑ มี.ค.๒๕๒๐         –     ๒๑ เม.ย.๒๕๒๑

                    ๒.  นาย  กิตติ     กิตติโชควัฒนา   ๒๑ เม.ย.๒๕๒๑      –     ๑๐ ส.ค.๒๕๒๓

                    ๓.  นาย  สุนทร     ฤทธิภักดี             ๑ ก.ย. ๒๕๒๓ –     ๓๑ ธ.ค.๒๕๒๓

                    ๔.  ร.ท.  พิภพ     อนุราช               ๑ ม.ค. ๒๕๒๔        –     ๓๐ พ.ย.๒๕๒๔

                    ๕.  นาย  จิต     ผสมพงษ์                 ๑ ธ.ค. ๒๕๒๔       –     ๓ ต.ค.๒๕๒๖

                    ๖.  นาย เฉลิมชัย  วรวุฒิพุทธพงศ์  ๔ ต.ค.๒๕๒๖        –     ๒ พ.ค.๒๕๒๗

                    ๗.  นาย อุดม     ธรรมเจริญ              ๓ ต.ค.๒๕๒๗  –     ๒ ก.พ.๒๕๒๙

                    ๘.  นาย มนตรี     สิทธิผล               ๓ ก.พ.๒๕๒๙       –     ๒๑ มี.ค.๒๕๒๙


             ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอสุคิริน


                      ๑.   นาย  มนตรี  สิทธิผล ๒๑ ม.ค. ๒๕๒๙    –   ๕ ธ.ค.๒๕๓๑

                     ๒.   นายสมพงษ์ ทวิชศรี ๖ ธ.ค.๒๕๓๑        –    ๒ ธ.ค.๒๕๓๓

                     ๓.   นายผ่องศักดิ์ สุขสุพันธ์            ๓ ธ.ค.๒๕๓๓        –   ๑๖ พ.ย.๒๕๓๕

                     ๔.   นายนำพล   พนังคศิริ               ๑๗ พ.ย.๒๕๓๕     –   ๑๖ มิ.ย.๒๕๓๙

                     ๕.   นายอุดม ปัตนวงศ์                ๑๗ มิ.ย.๒๕๒๙      –    ๑๖ พ.ย. ๒๕๔๐

                     ๖.   นายขันตี  ศิลปะ ๑๗ พ.ย.๒๕๔๐      –    ๑๙ พ.ย. ๒๕๔๒

                    ๗.    นายมนตรี ชัยกาษจนกิจ ๒๙ พ.ย.๒๕๔๒     –    ๒๓ ธ.ค. ๒๕๔๕

                    ๘.    นายนอบ  คงพูน ๒๓ ธ.ค. ๒๕๔๕     –    ๑๒ เม.ย.๒๕๔๗

                    ๙.    นายวีรนันท์  เพ็งจันทร์             ๑๒ เม.ย.๒๕๔๗    –    ๒๕ ก.ค. ๒๕๔๘

                   ๑๐.   นายวรเชษฐ   พรมโอภาษ ๑ ก.ย. ๒๕๔๘       –    ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๔

                   ๑๑.   นายสาโรช   กาญจนพงศ์ ๑๔  ธ.ค. ๒๕๕๔    –     ๑๒ ม.ค.๒๕๕๗

                   ๑๒.   นายอรุณ   ศรีใส                    ๑๓ ม.ค. ๒๕๕๗      –      ๖ พ.ย. ๒๕๕๙

                    ๑๓.   พ.จ.ท.อนันต์   บุญสำราญ         ๗ พ.ย. ๒๕๕๙      –      ปัจจุบัน





          ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต


                อำเภอสุคิรินตั้งอยู่ทางตอนล่างด้านใต้สุดของจังหวัดนราธิวาส มีสภาพเป็นป่าและภูเขาโอบล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ ๕๗๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๒๓,๑๒๕ ไร่ โดยเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสุคิริน
                อำเภอสุคิรินอยู่ห่างจากตัวจังหวัดนราธิวาส ประมาณ  ๑๒๐  กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอใกล้เคียงดังนี้

              ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ.จะแนะ อ.ระแงะ และ อ.สุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

             ทิศใต้ ติดต่อกับ อ.เจอลี รัฐกลันตัน และ อ.กริก รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย

             ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ.สุไหงปาดี และ อ.แว้ง จังหวัดนราธิวาส

             ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.จะแนะ จังหวัดนราธิวาส และ อ.กริก รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซีย



      ลักษณะภูมิประเทศ

                  อำเภอสุคิรินมีเนื้อที่ประมาณ ๕๗๗  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๒๓,๑๒๕ ไร่ โดยเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสุคิริน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและป่าทึบ มีที่ราบระหว่างภูเขาบ้างเล็กน้อย ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขามีเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่

          เทือกเขาตูแว เป็นเทือกเขาที่ กั้นพรมแดนระหว่าง อำเภอสุคิริน กับ อำเภอจะแนะ และ อำเภอสุไหงปาดี

         เทือกเขาบาตูกาเตาะ เป็นเทือกเขาที่ กั้นพรมแดนระหว่าง อำเภอสุคิริน กับ ประเทศมาเลเซีย

         เทือกเขาบาลา เป็นเทือกเขาที่ กั้นพรมแดนระหว่าง อำเภอสุคิริน กับ อำเภอแว้ง และประเทศมาเลเซีย

         เป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำสุไหงโกลก มีแม่น้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำสายบุรี และมีคลองที่สำคัญ ๑๒ สาย ลำธารสายสำคัญ ๗ สาย



       ลักษณะภูมิอากาศ


                 อำเภอสุคิริน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากมหาสมุทรอินเดีย ประกอบกับพื้นที่ทั่วไปเป็นภูเขาสูงชันและป่าทึบ จึงทำให้ฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี  ๒  ฤดู  คือ

                ฤดู ร้อน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ เดือน มกราคม - เมษายน ช่วงร้อนที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 30 C ปริมาณน้ำฝน 50 มม.

               ฤดูฝน แบ่งเป็น ๒ ช่วง ได้แก่
                      - ช่วงรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพัดเอาความชื้นจากทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

                      - ช่วงรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดเอาความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาทำให้มีฝนตนชุกในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

               อุณหภูมิเฉลี่ย 20 C ปริมาณน้ำฝน 265 มม.


       ประชากร


                  ประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอสุคิริน นับถือศาสนาอิสลาม  ประมาณ  ๖๐.๓๘ %  รองลงมาคือ ศาสนาพุทธ ๓๙.๖๐ %  และศาสนาคริสต์  ๐.๐๒  %

                  ประชากรตามสถิติทะเบียนราษฎร์ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙

               จำนวนทั้งสิ้น    25,980   คน
                       
                ชาย     13,282  คน

                หญิง    12,698  คน

                จำนวนหลังคาเรือน   8,438 หลัง


                         ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้


   ตำบล สุคิริ

             ประชากรทั้งหมด   5,002   คน

             ชาย   2,558  คน

             หญิง  2,444  คน

             จำนวนหลังคาเรือน  1,860  หลัง

   ตำบล มาโมง

            ประชากรทั้งหมด  6,071   คน

            ชาย   3,096  คน

            หญิง  2,975  คน

            จำนวนหลังคาเรือน  1,694  หลัง

  ตำบล ภูเขาทอง

            ประชากรทั้งหมด   2,615  คน

            ชาย   1,334  คน

            หญิง  1,281  คน

            จำนวนหลังคาเรือน  966  หลัง

  ตำบล เกียร์

           ประชากรทั้งหมด  3,573   คน

           ชาย   1,853  คน

           หญิง  1,720  คน

           จำนวนหลังคาเรือน  989 หลัง

 ตำบล ร่มไทร

           ประชากรทั้งหมด  5,193   คน

           ชาย   2,596  คน

           หญิง  2,597  คน

           จำนวนหลังคาเรือน  1,431  หลัง

 เทศบาลตำบล สุคิริน 

           ประชากรทั้งหมด   3,526  คน

           ชาย   1,845  คน

           หญิง  1,681  คน

           จำนวนหลังคาเรือน   1,498  หลัง


  ความหนาแน่นเฉลี่ย  45.026  คน / ตารางกิโลเมตร
  ความหนาแน่นของบ้านต่อพื้นที่  14.624  หลังคาเรือน / ตร.กม.


       การปกครองท้องที่และท้องถิ่น

แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่  พ.ศ. ๒๔๕๗  เป็น  ๕  ตำบล    ๔๑  หมู่บ้าน  ดังนี้

        1.  ตำบลสุคิริน มี ๑๓ หมู่บ้าน

        2.  ตำบลมาโมง มี ๑๐ หมู่บ้าน

        3.  ตำบลเกียร์ มี  ๕ หมู่บ้าน

        4.  ตำบลภูเขาทอง มี  ๘  หมู่บ้าน

        5.  ตำบลร่มไทร มี  ๕  หมู่บ้าน

   และเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ.๒๕๙๖  อีก  ๑  แห่ง ได้แก่

        ๑.  เทศบาลตำบลสุคิริน


   องค์การบริหารส่วนตำบล  มีจำวน  ๕  แห่ง คือ

         ๑.  องค์การบริหารส่วนตำบล มาโมง

         ๒.  องค์การบริหารส่วนตำบล สุคิริน

         ๓.  องค์การบริหารส่วนตำบล เกียร์

         ๔.  องค์การบริหารส่วนตำบล ภูเขาทอง

         ๕.  องค์การบริหารส่วนตำบล ร่มไทร

   เทศบาล  จำนวน  ๑  แห่ง  คือ
    
        ๑. เทศบาลตำบล สุคิริน




       วัฒนธรรม ประเพณี


               เนื่องจากอำเภอสุคิริน อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองสุคิริน ประชาชนโดยส่วนใหญ่ย้ายมาจากต่างภูมิภาค ต่างถิ่น ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศมาเลเซีย รวมทั้งภาคใต้ ซึ่งมีประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มากมาย ดังต่อไปนี้

         ๑.  วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยมุสลิม เช่น

                -   ประเพณีถือศีลอด  คือเดือนที่ ๙ ของปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เดือนบวช และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้มีความรู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น และเดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป้นอย่างไร และจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนะหฺคือการละหมาดตะรอเวียะฮฺในยามค่ำของเดือนนี้

                -   ประเพณีฮารีรายอ มี ๒ วัน คือ

                          ๑. วันอิฏิลฟิตรี หรือที่เรียกว่า วันฮารีรายอปอซอ เป็นวันเฉลิมฉลองเนื่องจากการสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นการกลับเข้าสู่สภาพเดิมคือ สภาพที่ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องอดน้ำ ฯลฯ อีกต่อไป ซึ่งตรงกับวันที่หนึ่งของเดือนเซาวาล เป็นเดือนที่ ๑๐ ทางจันทรคติ
                           ๒. วันอิฎิลอัตฮา หรือที่เรียกว่า วันฮารีรายอหัจญี หมายถึงวันเฉลิมฉลองเนื่องในวันเชือดสัตว์พลีเป็นทานบริจาคอาหารแก่คนยากจนและประชาชนทั่วไป ตรงกับวันที่ ๑๐ ของเดือนซุลอิจญะ เป็นเวลาเดียวกับการประกอบพิธีหัจญ์ ณ นครเมกกะของมุสลิมทั่วโลก ดังนั้นชาวไทยมุสลิมจึงนิยมเรียกวันตรุษนี้ว่า วันอีดใหญ่หรือวันรายอหัจญี

                 -   ประเพณีมาแกปูโล๊ะ  เป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า “กินเหนียว” ประเพณีการกินเหนียวของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม จะใช้ในหลายโอกาส เช่น แต่งงาน และเข้าสุหนัต คำว่า  “กินเหนียว” มิใช่ว่าเจ้าของจะบริการอาหารเฉพาะข้าวเหนียวเท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงอาหารธรรมดาทั่วไปนั่นเอง

                 -  งานเมาลิด  เป็นงานฉลองการเกิดของศาสดามุฮัมมัด ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๒ เดือนรอบิอุลเอาวัล ตามปฏิทินอิสลามซึ่งนับตามจันทรคติ โดยงานเมาลิดนั้นมักจะจัดในประเทศอียิปต์ และประเทศมุสลิมอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย เป็นต้น

                 -  การกวนอาซูรอ "อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง วันที่ ๑๐ ของเดือนมุฮัรรอน ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม ในสมัย ท่าน นบีนุฮ์ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการขาดอาหารบริโภค จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีของคนละอย่างไม่เหมือนกัน ท่าน นบีนุฮ์ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัย ท่าน นบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) ได้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่ บาดัร ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่าน นบีมูฮัมหมัด(ศ็อล) จึงใช้วิธีการของท่าน นบีนุฮห์ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหาร
         
           เป็นต้น

         ๒. วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทยพุทธ เช่น
                  - ประเพณีสงกรานต์  สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า ๑๓ ถึง ๑๕ เมษายน
                  - ประเพณีบุญบั้งไฟ  ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี แต่เนื่องจากอำเภอสุคิรินเป็นอำเภอที่มีผู้คนหลายภูมิภาคย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ ซึ่งรวมถึงผู้คนที่ย้ายเข้ามาจากภาคอีสานด้วย จึงทำให้อำเภอสุคิรินมีประเพณีบุญบั้งไฟเหมือนกับทางภาคอีสานเหมือนกัน
                  - ประเพณีบวช เป็นการปฏิบัติที่สืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธของพุทธศาสนิกชน โดยตามประเพณีปฏิบัติในการบวชนั้น ชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จะต้องเข้าพิธีอุปสมบท (อุปสมบท หมายถึงการบวชเป็นภิกษุ) เพื่อศึกษาพระธรรมให้เข้าใจชีวิต และสามารถนำมาใช้ในการครองชีวิตต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างสงบสุขและมีสติ นิยมบวชตามประเพณีในช่วงก่อนวันเข้าพรรษา เพื่อที่จะได้สามารถอยู่ศึกษาพระธรรมตลอดจนระยะเวลาเข้าพรรษา ประมาณ ๓ เดือน ก็จะลาสิกขาเมื่อพ้นวันออกพรรษาแล้ว แต่ถ้าบวชต่อไปก็ได้แล้วแต่ความสะดวก หากไม่ได้บวชในช่วงตามประเพณีระยะเวลาในการบวชขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้บวชเช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะประมาณ ๑๕ วัน หรือ ๑ เดือน
                  - ประเพณีสาร์ทเดือนสิบ  เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๐ เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
              ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม ๑ ค่ำถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม ๑๓-๑๕ ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน
                  - การละเล่นต่าง ๆ

     เป็นต้น

        สภาพเศรษฐกิจ

              ๑. การเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของอำเภอสุคิรินเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้การเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประชากรในอำเภอสุคิริน สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ ได้แก่  ยางพารา  เงาะ ลองกอง  ทุเรียน   มังคุด  สะตอ     

              ๒. การปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ สุกร ไก่ เป็ด ห่าน 
      
              ๓. การพาณิชย์    ได้แก่

       - สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ ๑ แห่ง

       - ธนาคาร ๑ แห่ง คือ ธนาคารออมสิน สาขาสุคิริน

       - สหกรณ์ที่ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์  จำนวน 1 แห่ง  คือ สหกรณ์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน


      การคมนาคม



            การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอ และจังหวัด มีทางหลวงแผ่นดินสายสุคิริน – นราธิวาส    จำนวน  ๓  เส้นทาง  คือ

             ๑.  อำเภอสุคิริน  –  อำเภอระแงะ  –  จังหวัดนราธิวาส    ระยะทาง  ๖๗  กิโลเมตร

             ๒. อำเภอสุคิริน – อำเภอแว้ง – อำเภอสุไหงปาดี –จังหวัดนราธิวาส ระยะทาง  ๙๖  กิโลเมตร

            ๓.  อำเภอสุคิริน – อำเภอแว้ง – อำเภอสุไหงโล-ลก - อำเภอตากใบ –จังหวัดนราธิวาส  ระยะทาง  ๑๐๓  กิโลเมตร


         สถานที่สำคัญๆ

         - ที่ว่าการอำเภอสุคิริน  ตั้งอยู่ที่ ม.๔  ต. สุคิริน  อ. สุคิริน  จ. นราธิวาส  โทร ๐๗๓-๖๕๖๐๗๑

         - โรงพยาบาลประจำอำเภอ จำนวน  ๑  แห่ง   คือ

                        ๑. โรงพยาบาล สุคิริน 

         - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน  ๙  แห่ง คือ

                       ๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  สว.นอก

                       ๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  กะลูบี

                       ๓. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒

                       ๔. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ภูเขาทอง

                       ๕. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ร่มไทร

                       ๖. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  บ้านน้ำตก

                       ๗. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ไอยามู

                       ๘. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  ร่มเกล้าพยาบาล

                       ๙. สถานีอนามัย เฉลิมพระเกียติ ฯ  บ้านไอปาโจ


         - สถานีตำรวจภูธร  จำนวน  ๑  แห่ง คือ

                       ๑. สถานีตำรวจภูธรอำเภอสุคิริน


         - โรงเรียนมัธยม  จำนวน  ๑  แห่ง  คือ

                       ๑. โรงเรียน สุคิรินวิทยา

         - โรงเรียนขายโอกาส  จำนวน  ๔  แห่ง  คือ

                       ๑. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๑๐

                       ๒. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๒

                       ๓. โรงเรียน รักไทย

                      ๔.  โรงเรียน บ้านบาลูกายาอิง

         - โรงเรียนประถม  จำนวน  ๑๑  แห่ง

                      ๑. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๔

                      ๒. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๕

                      ๓. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๖

                      ๔. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๗

                      ๕. โรงเรียน นิคมพัฒนา ๙

                      ๖. โรงเรียน สุคิริน

                     ๗. โรงเรียน ตชด.บ้านลีลานนท์

                     ๘. โรงเรียน บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๒

                     ๙. โรงเรียน บ้านร่วมใจ

                   ๑๐. โรงเรียน บ้านน้ำใส

                   ๑๑. โรงเรียน ภูเขาทอง


         -   โรงเรียน ตาดีกา   จำนวน   ๒๖  แห่ง

                    ๑. โรงเรียนตาดีกาดารุลอิสลามียะห์ ( ก.ม. ๒ )   หมู่ ๔  ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัด

                    ๒. โรงเรียนตาดีกาดาซาฟีนาตุลอาคีเราะห์   หมู่ ๔  ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                    ๓. โรงเรียนตาดีกาดานูรูลฮีดายะห์   หมู่ ๙  ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                   ๔. โรงเรียนตาดีกาอัลเราะห์มานียะห์   หมู่ ๑๒  ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                   ๕. โรงเรียนตาดีกาดารุลอามานจุฬาภรณ์ ๑๒   หมู่ ๑๓  ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                   ๖. โรงเรียนตาดีกาอัลฮาดี   หมู่ ๑  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                   ๗. โรงเรียนตาดีกาดารุสลาลาม   หมู่ ๑  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                  ๘. โรงเรียนตาดีกาดารุลฟาละห์   หมู่ ๒  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                  ๙. โรงเรียนตาดีกาอัตตักวา  ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๓  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๐. โรงเรียนตาดีกาดารุลมุนตาฮา  ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๕  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๑. โรงเรียนตาดีกายามิลอุลอิสลาม   หมู่ ๖  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๒. โรงเรียนตาดีกานูลรูลฮีดายะห์   หมู่ ๗  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๓. โรงเรียนตาดีกาเราะห์มาตุลซาลามียะห์   หมู่ ๑๐  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๔. โรงเรียนตาดีกาอัลมูเนาวาเราะห์  ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๕. โรงเรียนตาดีกาดารุลฮูดา   หมู่ ๒  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๖. โรงเรียนตาดีกาบ้านไอร์ยามู   หมู่ ๒  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๗. โรงเรียนตาดีกานูรูลอิสลามรอวียะห์   หมู่ ๓  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๘. โรงเรียนตาดีกาฟัจรอตูลอูลูม   หมู่ ๓  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๑๙. โรงเรียนตาดีกาอัลฮีดายาตุลอิสลามียะห์   หมู่ ๔  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๐. โรงเรียนตาดีกาคอยรียะห์   หมู่ ๕  ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๑. โรงเรียนตาดีกาฮีดายะห์  ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๒. โรงเรียนตาดีกาดารุลยาลาล ( จือบอ )   หมู่ ๒  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๓. โรงเรียนตาดีกานูรุดดีนอิสลาม   หมู่ ๓  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๔. โรงเรียนตาดีกาตัสดีกียะห์ กูวะลอจือบอ   หมู่ ๓  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๕. โรงเรียนตาดีกาดารุลอามาน ( กูยิ )   หมู่ ๔  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                 ๒๖. โรงเรียนตาดีกาดารุลฟาละห์   หมู่ ๕  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส


         -   สถาบัน ปอเนาะ    จำนวน   ๓    แห่ง

                  ๑. สถาบันปอเนาะ นูรุลฮีดายะห์   หมู่ ๗  ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                  ๒.  สถาบันปอเนาะมูฮำมาดีศึกษา  หมู่ ๓  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

                  ๓.  สถาบันปอเนาะตัมบีฮุลฆอฟีลีน ( กำลังดำเนินการขอจดทะเบียน )  ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัด นราธิวาส

    
         -   มัสยิด    จำนวน   ๒๗  แห่ง  ได้แก่

                      ๑.  มัสยิด อัลอิคลัธ   ตั้งอยู่ที่ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒.  มัสยิด ดารุลอิสลมมียะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๓.  มัสยิด นูรุลฮีมายะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๔.  มัสยิด ดารุลอามาน  ตั้งอยู่ที่ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๕.  มัสยิด ซาฟีนาตุลอาคีเราะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๖.  มัสยิด ดารุลอามาน  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                       ๗. มัสยิด ยามิลอุลอิสลามี  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                       ๘.  มัสยิด อัตตักวา  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                       ๙.  มัสยิด ดารุลฟาละห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๐.  มัสยิด นูรุลฮีดายะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๑.  มัสยิด เราะห์มาตุลซาลามียะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๒.  มัสยิด ดารุลมุนตาฮา  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๓. มัสยิด นูรุลฮูดา  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๔.  มัสยิด อัลฮาดี  ตั้งอยู่ที่ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส                

                      ๑๕.  มัสยิด ดารุลฮูดา  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๖.  มัสยิด อัลฮีดายาตุลอัสลามี  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๗.  มัสยิด รอวียะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๘.  มัสยิด ไอร์ยามู  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๑๙.  มัสยิด คอย์รียะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๐.  มัสยิด อัลมูเนาวาเราะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๑.  มัสยิด อัสสอฮาบะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกียร์  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๒.  มัสยิดอีดายะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๓.  มัสยิด ตัสดีกียะห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๔.  มัสยิด นูรุลอิสลาม  ตั้งอยู่ที่ ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๕.  มัสยิด ดารุลฟาละห์  ตั้งอยู่ที่ ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๖   มัสยิด จือบอ  ตั้งอยู่ที่ ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                      ๒๗.  มัสยิด ดารุลอามาน  ตั้งอยู่ที่ ตำบลร่มไทร  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส
        
        
         -  วัด    จำนวน  ๕  แห่ง  ได้แก่              

                     ๑.  วัดสุคิรินประชาราม   ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๒.  วัดสุวรรณบรรพต      ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลสุคิริน   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๓.  วัดโต๊ะโม๊ะ         ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๔.  วัดป่าชุมทอง     ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๕.  วัดชลภูผาวนาราม  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลมาโมง  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส


         -  สำนักสงฆ์   จำนวน  ๙  แห่ง   ได้แก่

                     ๑.  สำนักสงฆ์อีสานสามัคคีใต้  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๒.  สำนักสงฆ์ลีนาประชาราม   ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๓.  สำนักสงฆ์ราษฎร์ผดุง       ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๘ ตำบลสุคิริน  อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๔. สำนักสงฆ์ไอร์ปาโจ ( สายสุวรรณาราม )  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๕. สำนักสงฆ์พระธาตุภูเขาทอง  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๒ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๖. สำนักสงฆ์ไอกาเปาะ ( พลับพลาวนาราม )  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                     ๗. สำนักสงฆ์บ้านโน้นสมบูรณ์  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๕ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                    ๘. สำนักสงฆ์ต้นทุเรียน  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๗ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส

                    ๙. สำนักสงฆ์วังน้ำเย็น  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๘ ตำบลภูเขาทอง   อำเภอสุคิริน  จังหวัดนราธิวาส



         -  โบสถ์คริสต์   จำนวน   ๑  แห่ง

         -  ศาลเจ้า    จำนวน  ๑  แห่ง   คือ

                    ๑.  ศาลเจ้าแม่โต๊ะโม๊ะ